ขึ้นทะเบียน เกษตรกร ในโครงการ ประกันรายได้เกษตรกร หมดเขตยัง?

ขึ้นทะเบียน เกษตรกร ในโครงการ ประกันรายได้เกษตรกร หมดเขตยัง?

ทางเพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ได้ทำการเผยข้อมูลเพิ่มเติมในการ ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ภายในโครงการ ประกันรายได้เกษตรกร ว่ามีระยะเวลาถึงเมื่อไหร่ และอื่น ๆ สืบเนื่องจากการที่ทางเพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ได้ทำการโพสต์ถึงตัวโครงการ ประกันรายได้เกษตรกร เพื่อทำการตอบข้อข้องใจที่ว่าในส่วนของการ ขึ้นทะเบียนเกษตรกร  ในโครงการนี้จะมีระยะเวลาในการขึ้นทะเบียนถึงเมื่อใด และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

โครงการประกันรายได้เกษตรกร 

ถือเป็นหนึ่งในมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ซึ่งคาดหวังว่าจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในภาคส่วนของผู้ที่ปลูกพืชทางการเกษตรอย่าง ข้าว ยางพารา และข้าวโพดปศุสัตว์ ให้มีรายได้ ป้องกันความเสี่ยงในด้านของราคา และไม่ให้ประสบปัญหาในการขาดทุน

ซึ่งก็ทำให้เกิดคำถามว่าทางโครงการนั้น ได้หมดเขตในการขึ้นทะเบียนไปแล้วหรือยัง และมีรายละเอียดใด ๆ บ้าง 

คำตอบของคำถามเหล่านี้ก็พอจะตอบได้ดังนี้

ระยะเวลาในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร : สามารถทำการขึ้นทะเบียนได้ตลอด ไม่มีระยะเวลาจำกัด โดยทำการแจ้งการปลูกพืชทุกชนิดตามที่กำหนด และในทุกรอบของการผลิต

ผู้ขึ้นทะเบียนรายใหม่ ปลูกในแปลงใหม่ หรือผู้ขึ่นทะเบียนรายเดิม ปลูกในแปลงใหม่ ทำการยื่นแบบลงทะเบียนได้ที่ผู้นำชุมชนของท่าน

ผู้ขึ้นทะเบียนรายเดิม ปลูกในแปลงเดิม สามารถทำการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรผ่านแอพพลิเคชั่น Farmbook ได้

ในการได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐสำหรับโครงการต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และระยะเวลาของพืชแต่ละชนิด แต่ละสายพันธุ์

ทั้งนี้ผู้ที่ทำการขึ้นทะเบียนเกษตรกรนั้น จะต้องมีการปรับปรุง หรือความเคลื่อนไหวในข้อมูลทะเบียนเกษตรกรติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ จะถือให้มีการสิ้นสภาพการเป็นเกษตรกรโดยทันที

ได้เกิดปัญหาในการจ่าย เงินประกันรายได้ เกษตรกร สวนยาง ซึ่งในขณะนี้ได้ทำการเลื่อนการจ่ายเงินออกไปโดยไม่มีกำหนดการ และรายละเอียดออกมาว่าจะดำเนินการได้เมื่อไหร่

ได้เกิดปัญหาขึ้นในการจ่าย เงินประกันรายได้ เกษตรกร สวนยาง ที่ในตอนแรกจะทำการจ่ายตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563 แต่ก็ล่วงเลยมาถึงวันที่ 27 แล้วยังไม่มีการออกกำหนดการ หรื่อรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะสามารถทำการจ่ายได้เมื่อไหร่

ราคา Bitcoin ใน ตลาดเอเชีย ตกลงต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์

ในวันนี้ Bitcoin ใน ตลาดเอเชีย ได้มีการสะอึกกันไป โดยตกลงไป 6% มูลค่าเสียไปประมาณ 1,000 ดอลลาร์ หลังจากที่พลาดในการทำสถิติราคาสูงสุด โดย Bitcoin ค่าเงิน crypto-currency ที่ใหญ่และเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดนั้น มีมูลค่าล่าสุดอยู่ที่ 17,700 ดอลลาร์ภายในตลาดเอเชีย ซึ่งมูลค่าได้ตกลงไปในจุดหนึ่ง ทำให้เสียไปมากกว่า 1,000 ดอลลาร์ นับตั้งแต่การปิดตัวไปเมื่อครั้งที่ผ่านมา

Justin d’Anethan ผู้จัดการฝ่ายการขาย ที่บริษัทสินทรัพย์ดิจิตอล Diginex ได้กล่าวว่า “ด้วยปริมาณการขายที่สูงในเวลานั้น รวมไปถึงบนตลาดแลกเปลี่ยนหลายแห่ง ทำให้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ภายหลังจากที่มันพลาดในการไปแตะจุดที่สูงสุด มันจะมีการจัดการอย่างต่อเนื่อง”

เขายังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขณะที่มีความเป็นไปได้ถึงการไปแตะในระดับที่สูงกว่าหรือระหว่าง 16,000 ดอลลาร์ พวกเราก็ยังได้รับความนิยมในการลงทุน พร้อมด้วยโอกาสที่จะพลิกกลับอีกมากมาย”

ภายในปีนี้ Bitcoin ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 358.6% จากที่มีมูลค่าต่ำสุดในวันที่ 13 เดือนมีนาคม ที่อยู่ที่ 3,850 ดอลลาร์ แต่มันก็ยังไม่สามารถจะทะลุยอดสูงสุดที่อยู่ที่ 19,666 ดอลลาร์ ในช่วงเดือนธันวาคม 2017

บรรดานักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ระดมทรัพย์ครั้งล่าสุดนี้แตกต่างจากปี 2017 เนื่องด้วยจำนวนของนักลงทุนรายย่อยที่น้อยลง และบรรดาสถานบันลงทุน เช่น กองทุนป้องกันความเสี่ยง (Hedge Funds) และสำนักงานครอบครัว (Family Offices) ได้มีการลงทุนซื้อขายในสุลเงินดิจิตอลกันมากขึ้น

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ทำการชี้แจงเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ว่า ในวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมานั้น ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการขึ้น โดยได้มีข้อสรุปให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งทำความเข้าใจในระเบียบการจ่ายเงินอย่างด่วนที่สุด เพื่อให้ทางเกษตรได้รับเงินอย่างรวดเร็ว

ในส่วนของเกษตรที่ได้ลงทะเบียนเพิ่มเติมไปตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค. 2562 แต่ไม่เกิน 15 พ.ค. 2563 ทาง กยท. จะเข้าตรวจสอบพื้นที่ปลูกยางเพิ่มเติมให้เร็วที่สุด เพื่อส่งข้อมูลการจ่ายเงินส่วนต่างประกันรายได้ให้กับทาง ธ.ก.ส. เพื่อที่จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีโดยเร็วที่สุด

ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ต้องมีการเปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร ธ.ก.ส. โดยต้องเป็นบัญชีในชื่อของต้นเองเท่านั้น ห้ามเป็นบัญชีเปิดร่วม หรือเปิดเพื่อบุคคลอื่น ๆ เพื่อป้องกันการโอนเงินเข้าผิดบัญชี

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป